จุดเปลี่ยนสำคัญการประท้วงครั้งล่าสุดของอิหร่าน

การประท้วงครั้งล่าสุดของประเทศอิหร่านนี้ ถือว่าเป็นเกมการเมืองอันน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากว่าการประท้วงครั้งมันมีอะไรซ่อนอยู่หลังฉากซึ่งเรามองไม่เห็นอยู่มาก อีกทั้งเราก็อยู่ไกลข่าวสารต่างๆอาจจะไม่ตรงตามนั้นสักเท่าไรนัก อย่างไรก็ตามหากจะมีจุดเปลี่ยนการประท้วงครั้งล่าสุดของอิหร่านก็คงจะหนีไม่พ้น 5 ปัจจัยต่อไปนี้

การมองหาตัวแกนนำ

ปัจจัยอย่างแรกน่าสนใจมากของการประท้วง กล่าวคือ การประท้วงครั้งนี้เชื่อไหมว่าแม้ว่าจะเป็นการประท้วงครั้งยิ่งใหญ่แต่เรากลับยังไม่ได้ยินชื่อกลุ่ม หรือ แกนนำในการประท้วงครั้งนี้ได้เลย การประท้วงส่วนมากจะเป็นเมืองเล็ก คล้ายกับการใช้แผนดาวกระจายเสียมากกว่า เมื่อไม่รู้ว่าหัวหน้าเป็นใครก็ยากจะปราบได้ หากรัฐบาลต้องการจุดเปลี่ยนเพื่อพลิกเกมต้องมองหาแกนนำให้เจอ หากจับแกนนำได้การเผยแพร่ความเชื่อ แนวคิดก็จะหยุดลงได้
การเปลี่ยนแปลงผู้นำประเทศ
ตามข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมประท้วงบอกว่าต้องการเปลี่ยนแปลงตัวท่านประธานาธิบดีของอิหร่าน ผู้ประท้วงต้องการเห็นอิหร่านแนวใหม่จากผู้นำคนใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงตรงนี้แม้ว่าจะดูว่าง่าย แต่เอาจริงแล้วยากมาก หากรัฐบาลยอมเสียสละตัวเองจริง เชื่อเลยว่าการประท้วงไม่จบลงแน่นอน เผลอๆ อาจจะแตกเป็นสองฝ่ายก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเสียอีก กลับกันหากประธานาธิบดีออกจากตำแหน่งแล้วการประท้วงหยุด เลือกตั้งกันใหม่ก็ถือว่าดี(ถ้ามันเป็นอย่างนั้น)

Iran-Protests-

ภาวะเศรษฐกิจ

หัวข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงครั้งนี้ ได้แก่ เรื่องเศรษฐกิจปัญหาปากท้อง การว่างงานและภาวะเงินเฟ้อ จุดเปลี่ยนตรงนี้รัฐบาลก็รู้อยู่แต่ว่ามันแก้ไขได้ยากมาก เนื่องจาก อิหร่านเองได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรจากฝั่งยุโรปและอเมริกามานานจากเรื่องนิวเคลียร์ เพิ่งจะมาผ่อนปรนเมื่อไม่นานมานี้เอง การจะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นแบบทันตาเห็นนั้นมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจแบบไหนมาก็ตาม มันก็ช่วยได้แบบฉาบฉวยเท่านั้นเอง จะไปกู้ยืมมาลงทุนก็ส่งผลเสียให้เกิดหนี้ระยะยาวอยู่ดี อันนี้ต้องค่อยเป็นค่อยไป

การเข้าถึงข้อมูลโลกไซเบอร์

การประท้วงครั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลจะมีการเรียนรู้และปรับตัวมากขึ้นจากการประท้วงเมื่อปี 2009 แต่โลกเปลี่ยนไปแล้ว ประชาชนเข้าถึงสื่อและเทคโนโลยีมากขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามบล็อคแล้วก็ตาม แต่ก็เหมือนวิ่งเล่นไล่จับที่ไม่จนมุมสักที ตอนแรกจะบล็อคเทเลแกรม แต่คนก็หนีไปเล่นทวิตเตอร์ หรือแม้จะปิดสัญญาณมือถือแต่ผู้ประท้วงก็มีลูกเล่นใหม่ๆมาติดต่อสื่อสารกันตลอด ดังนั้นหากรัฐบาลต้องการปิดเกมกับผู้ประท้วงต้องการจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ไม่งั้นก็จบไม่ได้

การหนุนหลังของชาติมหาอำนาจ

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการประท้วงครั้งนี้ดูสมบูรณ์แบบมาก เหมือนกับมีการหนุนหลังจากมือที่มองไม่เห็น หากรัฐบาลจะพลิกกลับมาได้ต้องจัดการกับมือที่มองไม่เห็นเสียก่อน หากทำได้ผู้ประท้วงก็จะขาดน้ำเลี้ยง ก็จะลดพลังลง แต่ถ้าจัดการผู้อยู่เบื้องหลังไม่ได้ ก็คงต้องบอกลารัฐบาลนี้กันแล้ว

admin